3.1 แนวคิดวิศวกรน้อย




2.31 วิศวกรน้อย มีประโยชน์อย่างไร?

ตอบสั้นๆว่า ทำให้เด็กฉลาดขึ้น หรือตอบให้ยาวอีกนิดว่า ฝึกกระบวนการคิด? ก็มีคำถามต่ออีกว่า กระบวนการคิดคืออะไร? ข้าพเจ้าตอบว่า กระบวนการคิดคือ การคิดแก้ปัญหาที่ซับซ้อนอย่างเป็นระบบ


2.32 สอนเด็กให้ฉลาดด้วยของเล่นวิศวกรน้อย

สอนเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด หลายครั้งมีคนอยากจะถามข้าพเจ้าแต่ไม่มีโอกาสถาม หลายครั้งที่มีคนถาม แล้วข้าพเจ้าอธิบายย่อไป หลายครั้งที่มีคนถาม แล้วข้าพเจ้าอธิบายมากไปฟังจนงง และก็ถามว่าน่าจะเปิดโรงเรียนสอน หลายคนอยากจะนำลูกหลานให้ข้าพเจ้าสอน แต่ข้าพเจ้าไม่มีเวลามากพอที่จะสอน เพราะต้องใช้เวลามากและต้อง ตัวต่อตัว พ่อแม่สอนลูกจะดีที่สุด

ครั้งหนึ่งมีบริษัทขายสื่อการสอน แจ้งให้ข้าพเจ้าไปสาธิตของเล่นวิศวกรน้อย ให้หัวหน้าแผนกฝ่ายการตลาดฟัง เป็นผู้หญิง

ผู้หญิงจะมีความละเอียดอ่อนดีกว่าผู้ชาย ท่านกำลังเดินมาหาข้าพเจ้าตามที่นัดหมาย ท่าทางบ่งบอกว่างานยุ่งมาก แต่ถูกบังคับให้มาฟัง งานนี้ ข้าพเจ้าหนักใจ ก็คิดอยู่ในใจว่า ท่านอาจจะฟังแล้วคงนำไปสอนลูกหลานที่บ้านก็ได้ จึงเดินเรื่องดังนี้ หยิบอุปกรณ์ของเล่นด่านที่ 1 มาให้ดู ท่านก็ถามว่า เล่นอย่างไร? มีประโยชน์อย่างไร? ป้อนคำถามแบบนี้ ข้าพเจ้ายิ้มและคิดอยู่ในใจว่า เขาคงไม่ธรรมดา คงมีประสพการณ์การสอนเด็กแน่ ข้าพเจ้าบอกว่า เป็นของเล่นที่ฝึกกระบวนการคิด

2.33 อยากรู้ก็ ต้องเล่นก่อน

ท่านก็ถามต่อ “กระบวนการคิดคืออะไร?”ข้าพเจ้าตอบว่า “ท่านอยากจะเข้าใจก็ต้องใส่เกม 9 ชิ้นลงในกล่องให้ผมดู มีเสียงบ่นออกมาว่าจะทดสอบเชาว์ปัญญากันหรือนี่ ฉันไม่ค่อยมีเวลามากนัก แต่ก็อยากจะรู้ ข้าพเจ้าตอบว่า “อยากรู้ก็ต้องยอมให้เวลาผมหน่อยซิครับ” ท่านเล่นไปเรื่อย ๆ และบอกว่าคงใส่ไม่สำเร็จ ช่วยสอนให้หน่อย ข้าพเจ้าบอกว่าอย่าพึ่งใจร้อน เพียง1-2นาทีท่านคงเล่นไม่ได้ ท่านต้องยอมสละเวลาซัก 5 นาที เดี๋ยวก็เล่นได้ เมื่อเวลาผ่านไปและถูกข้าพเจ้าบังคับ ในที่สุดก็เล่นได้ ข้าพเจ้าถามว่า “ถ้านำเด็ก 3 ขวบมาให้ท่านสอนการเล่นใส่กล่องแบบท่าน ท่านจะสอนได้หรือไม่ ?” ท่านนิ่ง งง ข้าพเจ้าตัดบท

2.34 ใส่เป็นระบบ

ข้าพเจ้าหยิบกล่องเกมด่านที่ 1 แล้วเทออกพร้อมกับพูดว่า ดูนะ”ผมจะใช้เวลาใส่เพียง 2วินาทีเท่านั้น ท่านนิ่งคิดอยู่ในใจทำได้หรือไม่ 2 วินาที ข้าพเจ้าพูด พร้อมกับโกยตัวเกมทั้ง 9 ชิ้นใส่ลงกล่องอย่างสะเปะสะปะ แล้วก็ตอบว่า “เสร็จแล้วครับท่าน” ท่านหัวเราะออกมาหลังจากมึนงงมาตั้งนาน ข้าพเจ้าอธิบายต่อไปว่า เกมที่ท่านเล่นกับเกมข้าพเจ้าเล่นนั้นต่างกันอย่างไร ท่านตอบ “เอ๊ะมันต่างกันอย่างไร? คุณบอกมาเลย” ข้าพเจ้าบอกว่า “เกมที่ผมเล่นนั้นตัวเกมวางกันแบบสเปะสะปะไม่สวยงามเหมือนของท่านใช่ใหม?” “ใช่” เสียงตอบ “เมื่อตัวเกมสะเปะสะปะแล้วก็ฟ้องว่าในใจของคนเล่นก็ต้องสะเปะสะปะด้วย เพราะ 1.ไม่คิด(ไม่ใช้เชาว์ปัญญา ) 2.ไม่อยากเล่น (ไม่มีสมาธิ) 3. ใจร้อน(ขาดอดทน)

2.35 สอนแบบมีชั้นเชิง 1 ผู้ใหญ่คิด

ข้าพเจ้าก็ชี้ไปที่กล่องเกมพูดว่า การสอนให้เด็กใส่กล่องเกมนี้ได้

ประการที่ 1 เราบังคับเด็ก 3 ขวบว่า “ต้องใส่ให้ได้ถ้าไม่ได้ ต้องถูกลงโทษ” ท่านคิดว่าเด็กจะทำหรือไม่ คงไม่ได้ ข้าพเจ้าตอบแทน

ประการที่ 2 ให้รางวัลเด็ก “ถ้าเล่นได้ แม่จะพาลูกไปสวนสนุก ซื้อของเล่นให้” ข้าพเจ้าตอบแทนคงเป็นไปได้ยากไม่เช่นนั้น ลูกคนรวยก็ฉลาดกันหมดซิครับ!

ประการที่ 3 เราจะสอนให้ทำตามได้ใหม “เช่นลูกดูนะต้องเอาตัวเกมโอ ใส่แล้วตามด้วยตัวเกมไอ ตัวเกมแซท ตัวเกมที เมื่อเราใส่ไปเรื่อย ๆ พอใส่ไม่ได้ เราจะหน้าแตกอายเด็ก แต่ถ้าเราท่องจำมาก่อน เราหน้าไม่แตก แต่เท่ากับสอนให้เด็กจำใช่หรือไม่?” ท่านตอบว่า “ใช่” เหลืออยู่หนทางเดียวและด้วยชั้นเชิงที่จะสอนให้เด็กใส่ตัวเกมลงกล่องได้หมดก็คือ

ประการที่ 4 ต้องสอนแบบยั่วยุ หมายความว่า เรากับเด็กต้องช่วยกันคิดช่วยกันใส่ โดยให้เด็กถือ 1 ตัว เราถือ 8 ตัว แต่คนส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้เด็กใส่ก่อน น้อยคนที่จะปล่อยให้เด็กใส่เป็นตัวสุดท้าย ถามว่าถ้าเด็กใส่ก่อนตัวแรกเด็กคิดหรือไม่ ข้าพเจ้าตอบเลยว่า “เด็กไม่คิด” ให้เด็กใส่ตัวที่5 คิดหรือไม่ ก็ไม่คิด ให้เด็กใส่ตัวสุดท้ายเด็กคิดหรือไม่ ข้าพเจ้าตอบแทน “เด็กคิดแน่นอน”

ปัญหาก็คือ สมองท่านนั้นแหละที่จะต้องวางแผนการคิดมากกว่าปกติหลายสิบเท่า

เช่นเด็กถือตัวเกมโอไว้ในมือ ท่านต้องนำตัวเกม 8 ตัวใส่ก่อน โดยคำนวณให้เหลือที่วางรูปตัวเกมโอ ถ้าให้เด็กถือรูปตัวเกมแซท 1 ตัวล่ะ ท่านก็ต้องคิดวาง 8 ตัวลงกล่องให้เหลือช่องว่างตัวสุดท้ายเป็นรูปตัวเกมแซทอีก ถ้าเป็นแบบนี้..หลาย ๆครั้งเด็กก็จะเบื่อรอท่านหงุดหงิดหมดอารมณ์

2.36 สอนแบบมีชั้นเชิง 2 ให้เด็กคิด (เด็กอายุ 2- 4 ขวบ)


แต่ข้าพเจ้าแนะเทคนิคให้ท่านดังนี้ เราเปิดหนังสือเฉลยหน้า 59 แล้วแอบใส่ตัวเกมให้เต็มกล่องตามคู่มือเฉลยก่อน แล้วก็เดินมาหาเด็ก โดยเอาตัวเกมโอ ออกให้เด็กใส่กลับเข้าที่เดิม ช่องว่าง O กับ ตัวเกม O (เรียกกฎการเท่ากัน) ท่านคิดว่าท่านตั้งโจทย์เกมรวดเร็วแบบนี้เด็กพอใจหรือไม่ “คงพอใจ” แล้วเด็กจะใส่ได้ง่ายหรือไม่ “คงง่าย” นี่แหละเรียกว่าการยั่วยุ ขั้นที่ 1 เด็กอายุ 3 ขวบใส่ได้อย่างไม่รีรอ แล้วก็ภูมิใจที่ทำได้สำเร็จ การปิดเกมของเด็กเป็นคนสุดท้าย เปรียบเสมือนวิ่งผลัด 4 x 100 . คนไม้สุดท้ายที่วิ่งเข้าเส้นชัยจะภูมิใจ เพราะคิดว่าความสำเร็จอยู่ที่ตัวเขาเท่านั้น เด็กก็คิดเช่นนั้น ขั้นที่ 2 คราวนี้เอาตัวเกมที ออกวางใกล้ ๆ ให้เด็กใส่กลับเข้าที่เดิม เด็กยิ้มอีกเพราะใส่ได้ง่ายเหมือนเดิม ต่อไปเอาตัวเกมที ออกอีกครั้งโดยกลับหัวตัวเกมทีเพื่อให้ยากขึ้น

คราวนี้จะทดสอบความฉลาดของเด็กว่า จะฉลาดหรือไม่ กรณีถ้าเด็กฉลาดก็จะหมุนย้อนกลับตัว Tกลับหัว เป็นตัว Tตั้ง แล้วใส่ลงกล่อง สำหรับกรณีเด็กไม่ฉลาด ก็จะปล้ำใส่อยู่แบบเดิม และไม่ได้ ท่านผู้สอนอย่าใจร้อนรีบบอก รอสักพัก...เมื่อเห็นว่าเด็กทำไม่ได้จริง ๆ จึงจะแนะนำว่า “ลูกจะต้องหมุนและใส่ลงกล่องแบบนี้” ประมาณอย่างน้อย 5 ครั้งและให้เด็กทดลองทำตาม ช่องว่าง T ตั้ง กับ ตัวเกม T กลับหัว (เรียกกฎการอินเวอร์ส) ขั้นที่ 3 คราวนี้เอาตัวเกมแซท ออกแล้วให้ใส่กลับเข้าที่เดิมลงช่องว่างตัวเกมแซท เด็กก็จะยิ้มใส่ได้โดยง่ายเหมือนเดิม ต่อไปเอาตัวเกมแซท ออกอีกครั้งโดยพลิกกลับด้าน ตัวเกมแซท เพื่อให้ยากขึ้น ช่องว่าง Z เดิม กับ ตัวเกม Z พลิกกลับ (เรียกกฎการสมมาตร) เด็กฉลาดก็จะพลิกตัวกลับแล้วใส่ลงกล่อง ถ้าเด็กไม่ฉลาดก็จะใส่ไม่ได้ ท่านก็จะต้องรอเวลาเหมือนเดิม เด็กไม่ฉลาดบางคนก็จะร้องโวยวาย ใจร้อนไม่ยอมใส่ ส่วนเด็กฉลาดขึ้นมาหน่อยจะใจเย็นพยายามใส่แต่ใส่ไม่ได้ เด็กพร้อมที่จะรับความฉลาดของผู้ใหญ่ เราก็อธิบายว่า “ลูกต้องพลิกตีลังกาแบบนี้นะ” สอนเช่นนี้อย่างน้อย 5 ครั้ง เมื่อเห็นว่าเด็กใส่ ตัวเกม O T Z ตามที่สอนลงกล่องได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปเรียกว่าขั้นทดสอบ เอาตัวเกมแอล ออกแล้ว โยนเสี่ยงแบบหัวก้อย ให้เด็กเก็บนำมาใส่ที่เดิม ถ้าโชคดี L ช่องว่างกับตัวเกม L สอดคล้องกัน จะง่าย เด็กก็จะใส่ได้ด้วยความภาคภูมิใจ แต่ถ้าโชคไม่ดี L ช่องว่างกับตัวเกม L กลับด้านกัน กรณีเช่นนี้ เด็กฉลาดก็จะแก้ปัญหาใส่ได้โดยง่าย ถ้าเด็กที่ไม่ฉลาดเราก็ต้องทนสอนให้ฉลาดต่อไป การสอนตามข้อ 1, 2, และ 3 มาอย่างยากลำบากนั้น ถ้าท่านทำได้แสดงว่าท่านคือผู้ฝึกสอนที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เพราะท่านจะต้องใช้ 1.เชาว์ปัญญา(มีชั้นเชิงสอน) 2.สมาธิ (มีอารมณ์สอน) 3.ใช้เวลา (มีความอดทนสูง) เมื่อท่านหลวมตัวสอนเด็กได้ผลแล้ว ท่านก็ต้องพยายามต่อไป เมื่อเด็กฉลาดแล้ว ต่อไปท่านก็ไม่ต้องทนเหนื่อยแบบนี้อีก ขั้นที่ 4 เอาตัวเกมออก 2 ตัวติดกัน (กฎการสลับที่) เช่น T Z หรือ O L หรือ I L เป็นต้น แล้วโยนเสี่ยงให้พลิกกลับ เด็กฉลาดก็จะเก็บมาใส่ เข้าที่เดิมโดยง่าย ทำเช่นนี้ประมาณ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อยโดยโจทย์ไม่ซ้ำกัน ถ้าเด็กไม่ฉลาดหรือเด็กอายุ 2 ขวบส่วนใหญ่จะทำไม่ได้ ท่านต้องร้องเพลงรอ เมื่อจบเพลง เห็นว่าทำไม่ได้จริง ๆ ท่านก็แนะนำเด็กต่อไป กรณีที่เด็กท้อ เด็กหมดอารมณ์ให้หยุดก่อนอย่าบังคับ วันนี้ทำไม่ได้ วันหน้าก็ต้องทำได้ หลักการฝึกนั้น ขอให้ทำได้อย่างเดียวช้าหรือเร็วไม่สนใจ ไม่ควรจับเวลาในการคิด เพราะเวลาเป็นตัวร้ายที่ทำให้หลายคนขาดสติ แล้วคิดสะเปะสะปะ ขั้นที่ 5 เอาตัวเกม 3 ตัวติดกันออก (กฎการจัดกลุ่ม) เช่น L T I หรือ L Z I หรือ L O T เป็นต้น ตัวอย่างดังรูปคู่มือหน้า 61 เอา L T I ติดกันออก ในใจของเด็กอาจจะคิดว่า น่าจะเริ่มเอาตัว I ใส่ก่อนไว้ตรงนี้นะ แล้วเอา 2 ตัวที่เหลือต่อไป ถ้ายังใส่ไม่ได้ ก็จัดตำแหน่งตัว I ใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกว่าจะสำเร็จ กรณี เด็กไม่ฉลาด เด็กก็จะไม่ยอมขยับตัว I

2.36 สอนแบบมีชั้นเชิง 3 กระบวนการคิดเบื้องต้น (เด็กอายุ 5 ขวบ)

ข้าพเจ้าอธิบายมาถึงจุดนี้ ก็พูดว่า “ขั้นที่ 6 เอาตัวเกมออก 4 ตัวติดกัน แล้วให้เด็กใส่กลับที่เดิม” จากนั้นข้าพเจ้าก็ยื่นกล่องช่องว่าง 4 ตัวให้ท่านใส่ ท่านก็ยอมใส่ ใช้เวลานาน มองดูท่าทีจะใส่ไม่ได้ เพราะเขาไม่มีอารมณ์ที่คิด แม้แต่ฟังก็ยังทนฟัง ข้าพเจ้าต้องเฉลยใส่ให้ดู ตาของท่านจึงสว่างขึ้นมาอีกครั้ง ข้าพเจ้าจึงบอกว่าขั้นตอนที่ 6 นี้ เรียกว่ากระบวนการคิดเบื้องต้น

2.37 สอนแบบมีชั้นเชิง 4 ผู้สอนดูหรือเชียร์อย่างเดียว (เด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป)

ส่วนใส่ให้เต็มกล่องทั้ง 9 ตัว ก็เป็นกระบวนการคิดที่ซับซ้อนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงด่าน 7 ด่านต่าง ๆ 7 ด่าน เราไม่สามารถสอนให้เด็กคิดได้ ต้องปล่อยให้เด็กคิดเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของเด็กแต่ละคน เด็กบางคนมีความคิดเหนือผู้ใหญ่ หลายคนถามว่า จะสอนให้เด็กใส่ครบ 7 ด่าน จะสอนอย่างไร? ข้าพเจ้าบอกว่า “สอนไม่ได้ ปล่อยให้เด็กคิดเองใส่เอง ผู้ใหญ่คอยให้กำลังใจหรือแนะนำได้บ้างเท่านั้นเอง

2.38 ท่องจำจะใส่ไวเพราะไม่ต้องคิด ส่วนการคิดจะใส่ช้า

บางคนถามว่าเห็นเด็กบางคนมาเล่นใส่ได้ทุกด่านใช้เวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้นแสดงว่าเด็กคนนั้นเก่งซิ ข้าพเจ้าตอบว่า ถ้าเด็กท่องจำมา 7 ด่าน จะใช้วลาเพียง 7 นาทีเท่านั้นแต่ถ้าเด็กคิดเองก็จะใช้เวลานานพอสมควรตามความสามารถของเด็ก ก็มีคำถามตามมาว่าแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเขาคิดหรือจำมา ข้าพเจ้าบอกว่า ตั้งโจทย์ซิ เพราะทุกด่านมีหลายวิธีใส่ เช่นด่านสุดท้ายที่ 7 บางคนช่วยกันใส่ทั้งบ้านก็ยังใส่ไม่ได้ ข้างกล่องเขียนว่า สำหรับผู้ใหญ่ใช้เวลา 1วัน และเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไป ส่วนเด็กอายุน้อยกว่า18 ปีทำได้ แสดงว่าน่าจะเป็นเด็กฉลาดในระดับหนึ่ง เพราะต้องมีเชาว์ปัญญาสูง สมาธิสูง และความอดทนสูง


2.39 ความแตกต่างของเด็ก ที่เล่นวิศวกรน้อย

มีเด็กหญิงอัจฉริยะคนหนึ่งอายุ 4 ขวบ ผู้ใหญ่พามาหาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าลองเอาวิศวกรน้อยให้เล่นหลายด่าน มาหยุดที่ด่าน 4

เป็นด่านสำหรับเด็กอายุ 14-15 ปี ใช้เวลาเล่นไม่นาน ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่า เด็กคนนี้มองล่วงหน้าข้ามไปหลายฉอด เหลือตัวเกม 3 ตัวในมือ ก็รู้ว่าเล่นต่อไปไม่ได้ จึงเทออกใหม่เริ่มต้นใหม่ ซึ่งเก่งกว่าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเหลือ 2 ตัวในมือ รู้ว่าใส่ต่อไปไม่ได้ ซึ่งผิดกับเด็ก ม.3 ที่เรียนไม่เก่งคนหนึ่ง สมัยนั้นเป็นการทดลอง สร้างตัวเกมด้วยไม้ กล่องใส่เกมทำด้วยกระดาษแข็ง ข้าพนำมาให้เล่น เหลือ 1 ตัวสุดท้าย เป็นรูปตัวไอ (4ลบ.หน่วย) ส่วนช่องว่างในกล่องว่าง2ลบ.หน่วย รู้ว่าใส่ไม่ได้ ก็ยังขืนใส่จนกล่องกระดาษพัง ข้าพเจ้าโมโหมาก เพราะกล่องกระทำนานกว่าจะได้ แล้วมาทำพังข้าพเจ้าจึงได้คำศัพท์คำใหม่ว่า “ตั้งใจโง่” ปัจุบันเปลี่ยนเป็นกล่องพลาสติก ถ้านำมาให้แกเล่น ก็คงจะนำของแข็งมากระแทกตัวเกม เพื่อให้ใส่กล่องได้แน่ ข้าพเจ้าไม่ได้พูดประชด เรื่องจริงเกิดขึ้นแล้วเมื่อหลายปีก่อน มีเด็กกลุ่มหนึ่งอายุประมาณ 10-12 ปีมาเล่นเกมที่ข้าพเจ้าไปออกบูธในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ต่างคนหน้าตาตื่น กลัวแย่งไม่ทันเพื่อน เห็นเพื่อนทำอะไร ก็ทำด้วย ซึ่งเขาฝึกมาในสภาพที่ต้องแย่งแข่งขันกันตลอดเวลา มีเด็กชายคนหนึ่งเล่นข้ามด่านต้น ๆ ไปเล่นด่านที่ 4 เวลาผ่านไปนานมากยังเล่นไม่สำเร็จ ข้าพเจ้าเห็นว่าคงเล่นไม่ได้ก็บอกว่า “หนูเล่นด่านที่ 1 ก่อนซิ เขาไม่ฟัง ไม่สนใจคำพูดข้าพเจ้า สักพักหนึ่งเขาเอามือทุบตัวเกมที่ล้นไม่ลงตัวอย่างแรง โดยไม่กลัวเจ็บมือ เพื่อให้ลงกล่องให้ได้ ข้าพเจ้าบอกว่า “หนูของเล่นชุดนี้ต้องใช้สมองเท่ากัน ถ้าหนูต้องการใช้กำลังต้องไปเล่นเครื่องเล่นใหญ่ ๆ ตรงด้านโน้น”

2.40 ผลจากการฝึกวิศวกรน้อย

ถ้าเราไม่ฝึกกระบวนการคิดให้เด็กตั้งแต่เล็ก แน่นอนเขาเหล่านั้นจะต้องใช้กำลังแทนสมอง มองข้ามฉอดไม่ออก เด็กหญิงตัวเล็ก 4 ขวบคนหนึ่งชอบเล่นเกมวิศวกรน้อยมาก และเล่นเป็นประจำ วันหนึ่งน้องอายุหนึ่งขวบครี่งคลานมุดใต้เก้าอี้ พี่สาว 4 ขวบเห็น ก็วิ่งเข้าไป รีบเอามือวางกั้นศีรษะน้อง สักครู่น้องก็ลุกขึ้น ศีรษะน้องชนมือพี่สาว ไม่ชนเก้าอี้ พี่สาวคิดข้ามฉอดได้อย่างไร ถ้าไม่มีการฝึกซ้อมมาก่อน


จาก ธัญ เสรีรมย์